วัดซางตาครู้ส (กุฏีจีน)
วัดซางตาครู้ส (กุฏีจีน)
จากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งใกล้กับสะพานพุทธ จะสามารถมองเห็นวัดคริสต์ ซึ่งประดับด้วยไม้กางเขนเหนือยอดโดมหอระฆังแปดเหลี่ยมที่รู้จักกันดี ในนาม วัดซางตาครู้ส ซึ่งมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวคริสต์ นับตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี
คำว่า “ซางตาครู้ส” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2312 ภายหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว พระองค์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้กับชาวโปรตุเกสเพื่อสร้างชุมชน และวัดขึ้น โดยวัดหลังแรกเป็นอาคารไม้ และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวคริสต์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ตั้งถิ่นฐานภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในปี พ.ศ.2378 บาทหลวงปัลเลอกัวจึงสร้างวัดหลังที่2 แทนวัดหลังแรกที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา วัดหลังนี้มีลักษณะคล้ายศาลเจ้าจีน ผู้คนจึงนิยมเรียกว่า “วัดกุฎีจีน”
ส่วนอาคารของวัดที่ตั้งเด่นเป็นสง่าในปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2456โดยบาทหลวงกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส ซึ่งมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว ตัวอาคารของวัดเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเดียวแบบอิตาลียุคนีโอคลาสสิคผสมเรอเนอซองค์ ลักษณะที่โดดเด่นคือหอคอยยอดโดมคล้ายกับพระที่นั่งอนันตสมาคม ประดับด้วยไม้กางเขนบนเรือนยอด ภายในโดมเป็นที่เก็บระฆังชุดทั้งหมด 17 ใบ ใช้สำหรับบรรเลงเป็นเพลงในโอกาสวันสำคัญ และวันฉลองต่างๆ ตัวอาคารก่ออิฐประดับลายปูนปั้นงดงาม ส่วนล่างทำเป็นโถงประกอบด้วยซุ้มโค้งที่สอดรับกัน ประดับด้วยกระจกสีที่ถ่ายทอดเรื่องราวจากพระคัมภีร์
วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้
วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 05.00-07.00 น. และ17.00 -19.30 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2472 0153-4
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
วิธีเดินทาง : ลงสถานีสะพานตากสิน ออกทางออกที่ 1 นั่งเรือข้ามฟาก และเดินออกไปที่ถ.เจริญนคร และข้ามถนน ต่อรถประจำทางสาย 6 ไปลงใต้สะพานพุทธข้างวัดประยูรวงศ์ และเดินไปที่วัดซางตาครู้ส หรือออกทางออกที่ 2 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร ไปขึ้นที่ท่าสะพานพุทธ หรือท่าเตียน แล้วต่อเรือข้ามฟาก ที่อัษฎางค์ (ปากคลองตลาด)ข้ามไปวัดซางตาครู้ส และวัดกัลยาณมิตร (ท่าเรือเดียวกัน)
จากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งใกล้กับสะพานพุทธ จะสามารถมองเห็นวัดคริสต์ ซึ่งประดับด้วยไม้กางเขนเหนือยอดโดมหอระฆังแปดเหลี่ยมที่รู้จักกันดี ในนาม วัดซางตาครู้ส ซึ่งมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวคริสต์ นับตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี
คำว่า “ซางตาครู้ส” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2312 ภายหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว พระองค์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้กับชาวโปรตุเกสเพื่อสร้างชุมชน และวัดขึ้น โดยวัดหลังแรกเป็นอาคารไม้ และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวคริสต์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ตั้งถิ่นฐานภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในปี พ.ศ.2378 บาทหลวงปัลเลอกัวจึงสร้างวัดหลังที่2 แทนวัดหลังแรกที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา วัดหลังนี้มีลักษณะคล้ายศาลเจ้าจีน ผู้คนจึงนิยมเรียกว่า “วัดกุฎีจีน”
ส่วนอาคารของวัดที่ตั้งเด่นเป็นสง่าในปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2456โดยบาทหลวงกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส ซึ่งมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว ตัวอาคารของวัดเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเดียวแบบอิตาลียุคนีโอคลาสสิคผสมเรอเนอซองค์ ลักษณะที่โดดเด่นคือหอคอยยอดโดมคล้ายกับพระที่นั่งอนันตสมาคม ประดับด้วยไม้กางเขนบนเรือนยอด ภายในโดมเป็นที่เก็บระฆังชุดทั้งหมด 17 ใบ ใช้สำหรับบรรเลงเป็นเพลงในโอกาสวันสำคัญ และวันฉลองต่างๆ ตัวอาคารก่ออิฐประดับลายปูนปั้นงดงาม ส่วนล่างทำเป็นโถงประกอบด้วยซุ้มโค้งที่สอดรับกัน ประดับด้วยกระจกสีที่ถ่ายทอดเรื่องราวจากพระคัมภีร์
วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้
วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 05.00-07.00 น. และ17.00 -19.30 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2472 0153-4
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
วิธีเดินทาง : ลงสถานีสะพานตากสิน ออกทางออกที่ 1 นั่งเรือข้ามฟาก และเดินออกไปที่ถ.เจริญนคร และข้ามถนน ต่อรถประจำทางสาย 6 ไปลงใต้สะพานพุทธข้างวัดประยูรวงศ์ และเดินไปที่วัดซางตาครู้ส หรือออกทางออกที่ 2 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร ไปขึ้นที่ท่าสะพานพุทธ หรือท่าเตียน แล้วต่อเรือข้ามฟาก ที่อัษฎางค์ (ปากคลองตลาด)ข้ามไปวัดซางตาครู้ส และวัดกัลยาณมิตร (ท่าเรือเดียวกัน)
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)