แลนด์มาร์กลับ Ranakpur Jain Temple วิหารหินอ่อนสุดอลังการ
เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของประทศอินเดียที่อยากให้นักท่องเที่ยวของไทยค้นพบเยอะๆ เพราะที่นี่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สวยมาก ทั้งความเป็นสถาปัตยกรรมหินอ่อน ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แถมสไตล์ของสิ่งปลูกสร้างนี้ก็ยังดูร่วมสมัย ถ่ายรูปออกมาก็ไม่มีเอาท์ วันนี้ govivigo จะพามาทำความรู้จักที่นี่กัน หวังว่าในวันหนึ่งน้องเขาจะแมสขึ้นมาาา!!
สำหรับใครที่มีแพลนที่จะมาเที่ยวอินเดีย มีหนึ่งสถานที่ที่อยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ Ranakpur Jain Temple หรือ วิหารเชนโบราณ ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี ความว้าวของที่นี่คือวิหารนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อนลวดลายสวยมาก ซึ่ง Ranakpur เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งหุบเขานี้ตั้งอยู่บนเทือกเขา Aravalli ในเขต Pali ของ Rajasthan ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารเชนที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย
Ranakpur Jain Temple หรือ วิหารเชนโบราณ ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 48,000 ตารางฟุต ภายในวิหารมีมีห้องโถง 29 ห้อง และมีโดมทั้งหมด 80 โดม อีกทั้งวิหารนี้มีเสาหินอ่อนทั้งหมด 1,444 ต้น ซึ่งแต่ละต้นก็ได้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม ความพิเศษคือเสาทุกต้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับวิหาร และเมื่อมองแล้ว ไม่รุ้สึกว่าขัดหูขัดตา ถือได้ว่าเป็นวิทยาการการออกแบบของยุคนั้นเลยก็ว่าได้
ประวัติความเป็นมาของวิหารแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจเชนผู้มั่งคั่งนามว่า Dharma Shah ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชา Rana Kumbha ในศตวรรษที่ 15 โดยที่นี่ได้มีการก่อสร้างวิหารและเมืองพร้อมๆ กัน เมืองนี้มีชื่อว่า Ranakpur ตามกษัตริย์ Rana Kumbha ซึ่งวิหารนี้มีราคา 10 ล้านรูปีและใช้เวลาสร้างนานกว่า 50 ปี ตัววิหารทั้งหมดเต็มไปด้วยงานแกะสลักที่ละเอียดอ่อนคล้ายลูกไม้และลวดลายเรขาคณิต และตรงกลางของโดมก็ถูกแกะสลักเป็นบที่เชื่อมต่อกับฐานของโดม ด้านบนโดมจะถูกแกะสลักเป็นรูปของเทพเจ้า
วิหารแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบมารุคุรชร (Māru-Gurjara architecture) ศิลปะของอินเดียตะวันตกในสมัยศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งวิหารแห่งนี้จะมีไฮไลท์อยู่ที่จตุรมุขวิหาร สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระฤษภนาถ เรียกได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของยุคสมัยนั้นๆ เลยก็ว่าได้
ทั้งนี้วิหารได้มีการเปิดให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้เข้าชม แต่ฝากถึงเพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยสามารถนำโทรศัพท์มือถือและกล้องถ่ายรูปเข้าไปได้ แต่จำเป็นต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม รบกวนทำตามกฏกันด้วยนะ เพื่อให้สถาปัตยกรรมสำคัญๆ อยู่คู่โลกใบนี้ไปนานๆ
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)