สุดตะลึง! เบื้องหลังที่มาของเครื่องประดับทองคำโบราณ ออกแบบพิเศษสำหรับ "เบลล่า-ราณี" นางนพมาศ ICON SIAM 2563
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 31 ตุลาคม 2563 govivigo ได้มีโอกาสไปร่วมงานลอยกระทงที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่กับ งาน “ICONSAIM CHAO PHRAYA RIVER OF ETERNAL PROSPERITY” ลอยกระทงบนสายน้ำาอันรุ่งเรือง ท่ามกลางแสงสี เสียง และทัศนียภาพบนโค้งน้ำที่สวยที่สุดของแม่น้าเจ้าพระยา ณ ไอคอนสยาม
ซึ่งสำหรับงานในค่ำคืนนั้น สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจ นอกจากความงดงามของนางนพมาศ “เบลล่า-ราณี แคมเปน” แล้ว อีกสิ่งหนึ่งก็คือเครื่องประดับทองคำโบราณ ที่บรรจงรังสรรค์ขึ้นมาอย่างพิถีพิถันเป็นพิเศษให้กับนางนพมาศสุดสวยของปีนี้ วันนี้ govivigo จะพาไปเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับที่มาของการออกแบบและการสร้างสรรค์เครื่องประดับแต่ละชิ้น คอนแทคเลนส์ สีน้ำตาล คริสตัล บราวน์
สำหรับเครื่องประดับเซตนี้ ประกอบไปด้วย “ศิราภรณ์” และ “ถนิมพิมพาภรณ์” โดยมี ชฎา ต่างหู สร้อยคอ ทับทรวง เข็มกลัดประดับบ่า สังวาล ปั้นเหน่ง และสายเข็มขัด ซึ่งเป็นผลงานของแบรนด์ ทองถนิม ที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาจากความตั้งใจที่จะสืบสานและส่งต่อศิลปะเครื่องทองไทยที่เป็นมรดกของชาติ ให้ยังคงอยู่ต่อไป
จะเห็นได้ว่า เครื่องประดับทั้งหมดนี้ ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อถึงประวัติของประเพณีการลอยกระทง โดยที่ผ่านมาหลายคนมักเข้าใจว่าประเพณีการลอยกระทงคือการขอขมาพระแม่คงคา แต่แท้จริงแล้วประเพณีการลอยกระทงนั้น เป็นประเพณีที่ได้ถูกพัฒนามาจากคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
ภาพ : ศิราภรณ์ (ชฎา)
โดยในครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเหล่าพญานาคที่ริมฝั่งแม่น้ำนิมมทา และได้ประทับรอยพระพุทธบาทเอาไว้ที่นั่น
ในทุกปี ชาวอินเดียโบราณจะจัดพิธีขึ้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อเป็นการระลึกและสักการะพระพุทธเจ้าตามคติความเชื่อนั้น โดยพิธีนี้เรียกว่า “พิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม” คนอินเดียจะลอยโคมขึ้นไปบนฟ้า เพื่อสักการะพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ ณ สรวงสวรค์ และเชื่อว่าจะมีพระอินทร์คอยช่วยเป็นสื่อในการนำโคมที่ลอยไปถวายแด่พระพุทธเจ้า
ภาพ : ปั้นเหน่ง ภาพ : ต่างหู
แต่เพื่อนๆ รู้ไหม แรกเริ่มในสมัยสุโขทัย ยังมีประเพณี “การลอยพระประทีปหรือลอยโคม” เพื่อสักการะพระพุทธเจ้า ในคืนเพ็ญ เดือน 12 โดยพ่อขุนรามคำแหงจะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เพื่อทอดพระเนตรประเพณีดังกล่าว
ต่อมาท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้คิดค้นกระทงขึ้น โดยทำเป็นรูปดอกบัว เพื่อนำไปถวายพ่อขุนรามคำแหง และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการลอยโคม มาเป็นการลอยกระทงทางสายน้ำแทน จนเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทงที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพ : ทับทรวง(ด้านหน้า) ภาพ : ทับทรวง(ด้านหลัง
จากเรื่องราวดังกล่าว ทางทีมทองถนิมจึงได้นำไอเดียนี้ มาถ่ายทอดสู่เซตเครื่องประดับสำหรับนางนพมาศปีนี้ และได้มีการนำเอาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องมาประกอบเป็นลวดลายทั้งในเครื่อง “ศิราภรณ์” และ “ถนิมพิมพาภรณ์” ได้แก่
“รอยพระพุทธบาท” ตัวแทนแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
“พญานาค” ผู้ซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
“พระอินทร์” เทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา และเป็นผู้ช่วยนำโคมขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เพื่อสักการะองค์พระพุทธเจ้า
“ดอกบัว” ดอกไม้บริสุทธิ์ที่ใช้บูชาพระพุทธเจ้า
“ปลา” พาหนะของพระแม่คงคา และสัญลักษณ์ของสายน้ำ
ภาพ : เข็มกลัดประดับบ่า ภาพ : สังวาล
govivigo ทราบมาอีกว่า เครื่องประดับเซตนี้ ใช้ช่างฝีมือทั้งหมดมากกว่า 10 คน โดยใช้ระยะเวลาในการทำร่วมปี ผสมผสานงานช่างสิบหมู่ในหลากหลายแขนง ทั้งช่างเขียน ช่างปั้น ช่างบุดุน แต่ละชิ้นถูกออกแบบขึ้นมาอย่างประณีต มีเรื่องราว และเปี่ยมไปด้วยลวดลายไทยที่เรียงร้อยถักทอกันได้อย่างวิจิตรงดงาม
กว่าจะมาเป็นเครื่องประดับชุดพิเศษอันทรงคุณค่านี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความรักในงานเครื่องทองโบราณของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่ประจักษ์ออกมาสู่สายตาชาวไทย นับว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามากเลยทีเดียว…
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)